Sunday, August 16, 2020

BEDO สนับสนุนชุมชนใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างสร้างรายได้ที่มั่นคง - มติชน

antakatabur.blogspot.com

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ชูหลักการ BEDO Concept สนับสนุนชุมชนใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง และสร้างรายได้ที่มั่นคง ดังตัวอย่าง ผ้าย้อมห้อมแห่งเมืองแพร่ สินค้ายอดนิยม ด้วยคุณสมบัติของสีครามที่เป็นเอกลักษณ์ และหาได้ยากจากพืชธรรมชาติ ยิ่งกว่านั้น ผ้าหม้อห้อมที่ย้อมสีธรรมชาติ ยังมีจุดเด่นคือช่วยดูดซับแสงยูวีได้ ทำให้ผู้สวมใส่ไม่ร้อน และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ BEDO จึงนำ “ห้อม” พืชพื้นเมือง และภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดแพร่ มาสร้างคุณค่าและมูลค่า ตอกย้ำแนวคิดการใช้ประโยชน์ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

แพร่เป็นแหล่งปลูกต้นห้อมและผลิตผ้าย้อมห้อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้ง ดิน ฟ้า อากาศ และภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ห้อม เป็นพืชล้มลุกที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูง ในสภาพป่าธรรมชาติ มีแสงรำไร ใกล้แหล่งน้ำ ความชื้นมาก และมีอากาศเย็นตลอดทั้งปี หรือกล่าวได้ว่า “หากมีป่าสมบรูณ์ ห้อมแพร่ก็จะคงอยู่คู่กับจังหวัดแพร่” แต่ในปัจจุบัน พบว่า ห้อมที่ขึ้นในธรรมชาติลดน้อยลง ในขณะที่ความต้องการและการผลิตเสื้อผ้าหม้อห้อมเพิ่มมากขึ้น และมีการนำสีเคมีมาใช้ย้อมผ้าทดแทนห้อม  BEDO จึงได้นำหลักการ BEDO Concept เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิตห้อมแก่ชุมชนในจังหวัดแพร่ ด้วยการสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากห้อมที่หลากหลาย ใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ และเมื่อชุมชนเกิดอาชีพและมีรายได้ ก็มีการปันรายได้ส่วนหนึ่งกลับไปเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งปลูกห้อม การทำงานของ BEDO ร่วมกับชุมชน เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปสู่ปลายน้ำอย่างครบวงจร และเวลานี้ ชุมชนแพร่ พร้อมแล้วที่จะขยายผล ถ่ายทอด ความรู้ และกระบวนการทำงานเพื่อเป็นตัวอย่าง โดยคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และ CEO ของหน่วยงานให้ความสำคัญและมาร่วมกันผลักดันให้เกิดการขยายแนวคิดมากยิ่งขึ้นในวันนี้

“การสร้างคุณค่าและมูลค่าแบบส่งต่อและแบ่งปัน”

นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ในฐานะ CEO ของ BEDO กล่าวว่า ห้อม คือ “ความพยายามในการให้ธุรกิจห้อมในจังหวัดแพร่หันกลับมาใช้ห้อมจากธรรมชาติ” เป็นตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bioeconomy ระดับชุมชน สร้างเศรษฐกิจในบริบทใหม่ตามกลยุทธ์ “การสร้างรายได้ เป็นเครื่องมือของการอนุรักษ์ หรือในทางกลับกัน ใช้การอนุรักษ์เป็นกลไกลของการสร้างรายได้” ภายใต้ BEDO Concept 3 ประการ ได้แก่

1) การใช้ความหลากหลายทางชีวภาพที่ชุมชนเป็นเจ้าและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบหลัก

2) การผลิตที่เป็นมิตรกับความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

3) การปันรายได้บางส่วนไปอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายใต้หลักการ BEDO Concept ให้มีอัตลักษณ์ มีความโดดเด่น จำเป็นต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเป็นพี่เลี้ยงการเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ที่รู้จัก รู้ลึก เข้าใจพื้นฐานทรัพยากรชีวภาพ และศักยภาพของชุมชนในท้องถิ่นนั้นๆ

ห้อม พืชพื้นเมือง ภูมิปัญญา และการอนุรักษ์ต้นน้ำ

ห้อมคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย อยู่จังหวัดแพร่โดยเป็นห้อมที่อยู่ในป่า ชุมชนบ้านนาคูหาเป็นหนึ่งในชุมชนต้นน้ำ ที่เก็บห้อมจากป่ามาปลูกขยายพันธ์และใช้ประโยชน์ ผลิตเป็นวัตถุดิบห้อมเปียก เวลานี้ ชุมชนทำห้อมบ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ และชุมชนกลุ่มห้อมนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง เป็นชุมชนเครือข่ายของ BEDO ที่มีศักยภาพเป็น “ต้นน้ำ” ของแหล่งปลูกต้นห้อม ด้วยพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จนได้ต้นห้อมคุณภาพดี ให้สารสกัดสีน้ำเงิน หรือ Indican

บ้านนาคูหา แหล่งผลิตและส่งออกห้อมเปียกคุณภาพดี
บ้านนาคูหา ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาที่ระดับความสูง 625 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเหมาะสมสำหรับการปลูกต้นห้อมกลุ่มใบใหญ่ที่มีคุณภาพให้เนื้อห้อมและปริมาณสารอินดิโก้สูง การผลิตห้อมสดหรือเนื้อห้อมเปียก หรือเปอะในภาษาเมือง เป็นวัตถุดิบสำคัญในการ “ก่อหม้อ” ย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม ให้สีน้ำเงินเข้มสวยติดง่าย เงางาม

นายสว่าง สีตื้อ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มห้อม “บ้านนาคูหา” ต.สวนเขื่อน อ.เมือง จ.แพร่ เล่าถึงการผลิตเนื้อห้อมตามภูมิปัญญาในท้องถิ่นว่า นำลำต้นและใบของห้อมมาแช่น้ำไว้ประมาณ 72 ชั่วโมงให้เนื้อห้อมเปื่อย แล้วนำไปตีผสมกับปูนแดง และปูนขาว ให้ได้ความข้นลักษณะคล้ายเนื้อโคลนสีเข้ม เรียกว่า “ห้อมเปียก” ทั้งนี้ BEDO ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนบ้านนาคูหา พัฒนาเป็นเป็นต้นน้ำในการผลิตห้อมสด และเนื้อห้อมเปียก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการย้อมผ้าหม้อห้อมจากสีธรรมชาติให้กับชุมชน โดยได้ร่วมมือจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ พัฒนาผลิตภัณฑ์ห้อมเปียกนาคูหา ภายใต้ตรายี่ห้อ “ห้อมเปียกลุงสว่าง”

บ้านทุ่งโฮ้งชุมชนกลางน้ำและปลายน้ำการผลิตผ้าย้อมห้อม

“ป้าเหงี่ยม”นางประภาพรรณ ศรีตรัย วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ บ้านทุ่งโฮ้ง ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ เล่าว่า BEDO ได้ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เนื้อห้อมธรรมชาติ จากบ้านนาคูหา” ซึ่งเป็นห้อมเปียกคุณภาพดี มาใช้ในการย้อม เสื้อหม้อห่อม ผ้ามัดย้อม กระเป๋าผ้า และของที่ระลึกต่างๆ แทนสีเคมี รวมทั้งยังเปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ”หม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติ” ตั้งแต่กระบวนการย้อมห้อมสีธรรมชาติ การใส่ลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยวิธีต่างๆ ไปจนถึงการใช้สีห้อมวาดลวดลายลงบนผืนผ้าให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ ได้ ลงมือย้อมห้อมด้วยตัวเอง กลายเป็นจุดเปลี่ยน และจุดขายแนวใหม่ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ให้กับป้าเหงี่ยม วิสาหกิจชุมชนหม้อห้อมทุ่งเจริญย้อมสีธรรมชาติ เฉลี่ยราว 40,000 บาทต่อสับปดาห์ หรือ มากกว่าแสนบาทต่อเดือน

พัฒนาต่อยอด ห้อม จังหวัดแพร่

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ BEDO ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้ส่งเสริมให้ชุมชนได้พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อขยายช่องทางการตลาดให้กว้างขึ้น อาทิ ผลิตภัณฑ์ห้อมผง ที่พัฒนาห้อมเปียกให้เปลี่ยนรูปเป็นห้อมผง และสร้างตรายี่ห้อ “ห้อมผงนาตอง” “ผลิตภัณฑ์ชุด Kit เสื้อ และชุด Kit  ผ้าเช็ดหน้า” ตรายี่ห้อ “หม้อห้อมป้าเหงี่ยม mo hom pa ngiam” ที่สะดวกในการใช้ ง่ายในการขนส่ง และลูกค้าสามารถนำไปย้อมผ้าเอง “ผลิตภัณฑ์ชุด Kit สีน้ำระบายสี” ตรายี่ห้อ “รักษ์ห้อม” เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะ เน้นนำไปใช้ในงานศิลปะ ซึ่งเป็นกลุ่มตลาดเป้าหมายใหม่ที่แตกต่างจากนำสีหม้อห้อมไปย้อมผ้าเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม BEDO มีแนวคิดจะชูห้อมจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเนื้อห้อมคุณภาพดีที่สุดของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรปลูกห้อม แปรรูปเนื้อห้อมสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหาย ช่วยอนุรักษ์พันธุกรรมห้อมให้คงอยู่ในป่าธรรมชาติ สร้างงาน และเพิ่มรายได้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

Let's block ads! (Why?)



"ผง" - Google News
August 17, 2020 at 11:26AM
https://ift.tt/3kTfEMr

BEDO สนับสนุนชุมชนใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างสร้างรายได้ที่มั่นคง - มติชน
"ผง" - Google News
https://ift.tt/3cmY1Pu
Share:

0 Comments:

Post a Comment